สัญลักษณ์โอมพระพิฆเนศ

สัญลักษณ์โอม หมายถึง

โอม (ॐ) ถือเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระพิฆเนศ มหาเทพแห่งปัญญาและความคิด ซึ่งเป็นเครื่องหมายมงคลที่ช่วยขจัดอุปสรรคและนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต การสวดมนต์ด้วยโอมจึงเป็นการเชื่อมโยงพลังงานแห่งจักรวาลกับพระพิฆเนศเพื่อสร้างความสงบและความรุ่งเรืองในทุกย่างก้าวของชีวิต

สัญลักษณ์โอม ความหมาย

คำว่า “โอม” (ॐ) (AUM) นี้ มาจากเสียงท้ายพยางค์ ๓ เสียง คือ “มะ” “อะ” “อุ” เมื่อ ๓ คำนี้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว จึงประกอบสำเร็จเป็นโอม ซึ่ง ๓ คำนี้แยกแยะได้ดังนี้


มะ (म) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (ब्रह्मा) (มะ) – พลังแห่งการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง หมายความว่า มหาเทพผู้ให้การก่อเกิดแห่งเทพเทวา มนุษย์ สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง ที่คอยดูแลและคุ้มครองให้เจริญเติบโต วิวัฒนาการ ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์แห่งจักรวาล และลิขิตชะตาของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ด้วยวาระแห่งกรรม ดลบันดาลด้วยเหตุและผล


อะ (अ) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (शिव) (อะ) – พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า มหาเทพแห่งการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหว เคลื่อนย้าย สับเปลี่ยน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นอนันต์ ในความเปลี่ยนแปลงปฏิรูปขึ้นใหม่ จนถึงจุดหนึ่งแห่งความสัปปายะถึงจะปฏิวัติ เปลี่ยนใหม่รอบใหญ่ เปลี่ยนแปลงครั้งย่อยและเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ วนอย่างนี้เป็นอนันต์ไม่มีที่สิ้นสุดในธรรม


อุ (उ) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (विष्णु नारायण) (อุ) – พลังแห่งการดำรงรักษา หมายความว่า มหาเทพแห่งการดูแลรักษาดำรงอยู่ คุ้มครอง มีการดูแลรักษาดำรงอยู่ครั้งย่อย และมีการดูแลรักษาดำรงอยู่ครั้งใหญ่ในธรรม

สรุป

คำว่า”โอม” จึง มักใช้เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์ เช่น บทสวดบูชาพระพิฆเนศ ขึ้นต้นว่า “โอมคะเนศายะ  นะมะหะริโอม“